มีคู่รักจำนวนไม่น้อยพบ “รักแท้” และพัฒนาความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์มาสู่การใช้ชีวิตจริงด้วยกัน แต่ก็มีจำนวนมากที่ต้องเจอกับความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำอีก
“ความรัก (อาจ) ทำให้เราตาบอด” ประโยคนี้ไม่เกินความจริงหรือมองโลกในแง่ร้ายเสียทีเดียว ยิ่งเราอยู่ในยุคที่โลกหมุนไวตามกระแสอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะมีความรวดเร็วและอำนวยความสะดวกให้กับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้การสร้างความสัมพันธ์กับใครสักคนไม่ใช่เรื่องงมเข็มในมหาสมุทรอีกต่อไป เพียงปัดจอโทรศัพท์ไปซ้ายหรือไปขวา ก็จะพบใครบางคนในโลกโซเชียลที่ตรงใจและสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ต่อได้ ตั้งแต่การแชทพูดคุย ส่งรูปภาพหรือเปิดวิดีโอคอลหากันก็รวดเร็วจนบางครั้งคนรุ่นก่อน ๆ ตั้งคำถามให้กับนิยามความสัมพันธ์โรแมนติกของคนรุ่นใหม่ว่า “รัก WiFi (ไวไฟ)”
ซึ่งช่องทางเหล่านี้ก็ตอบรับกับพฤติกรรมคนยุค Gen Y และ Gen Z ที่มีความคิดเป็นอิสระ กล้าหลุดออกจากกรอบ กล้าแสดงออก และชอบที่จะมีชีวิตที่มีสีสันบนโลกโซเชียลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการมีปฏิสัมพันธ์และแสดงอารมณ์ความรู้สึกและความรักผ่านการใช้เทคโนโลยี จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเมื่อประกอบกับความนิยมเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ ที่พุ่งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อาทิ การใช้จ่ายและทำธุรกรรมออนไลน์ที่ทำได้รวดเร็ว เราจึงได้เห็นข่าวเหยื่อความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ ที่โดนมิจฉาชีพลวงรักลวงหลอกให้โอนเร็วโอนไวอยู่บ่อย ๆ มากขึ้นเช่นกัน
ข้อมูลจากงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยอย่างน่าตกใจว่าการหลอกลวงแบบโรมานซ์สแกม หรือภัยแฝงที่มาจากการพบรักในโลกออนไลน์ เช่น หลอกให้รักแล้วโอนเงินนั้นมีมูลค่าความเสียหายถึง 6 พันล้านบาท สูงเป็นอันดับสองรองจากการหลอกลวงเป็นผู้รับเงินทางอีเมล และช่วงมิถุนายน ปี 2561 – พฤษภาคม ปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ร้องทุกข์จากกรณีดังกล่าวมากกว่า 300 ราย เสียหายกว่า 190 ล้านบาท โดยช่องทางยอดนิยมที่มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือล่อลวงเหยื่อ ได้แก่ โซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์หาคู่ต่าง ๆ
ทั้งนี้ ขั้นตอนที่มิจฉาชีพใช้ก็มีหลากหลาย แต่ทุก “วงจรการหลอกลวง” ท้ายที่สุดนั้นก็นำไปสู่จุดประสงค์หลักในการ “หลอกเอาเงิน” หรือ “หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณเพื่อไปทำธุรกรรมทุจริต” นั่นเอง โดย ขั้นตอน รัก ลวง หลอก (โอน) ผ่านธุรกรรมออนไลน์ที่มิจฉาชีพใช้ส่วนใหญ่มักผ่าน 3 วงจร ดังนี้
รู้ไว้ใช่ว่า พฤติกรรมแบบใดเข้าข่ายตกเป็นเหยื่อ รัก ลวง หลอก (โอน)
จากสถิติพบว่า ผู้หญิง ตกเป็นเหยื่อ มากกว่า ผู้ชาย ที่สัดส่วน 86% ต่อ 11% ที่เหลือเป็นเพศทางเลือก ราว 3% แต่หลากหลายกรณีที่ผู้ชายตกเป็นเหยื่อแล้วมักเปย์เสียหายหนักกว่าหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเป็นเพศไหน หากมีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจตกเป็น “เหยื่อ” ได้เช่นกัน
จากสารพันกลโกงที่กล่าวมา TrueMoney ในฐานะผู้ให้บริการ e-Wallet ตระหนักดีถึงความเสี่ยงที่ผู้ทำธุรกรรมออนไลน์และผู้ใช้อีวอลเล็ทต้องพบเจอ จึงมีข้อแนะนำ “ฮาว ทู เลิฟ” ให้ไม่โดนหลอกโอนฉบับ TrueMoney มาให้เพื่อรับเทศกาลแห่งความรักที่กำลังจะมาถึง ดังนี้
จะเห็นได้ว่าแม้ผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์หรืออีวอลเล็ทจะพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยแค่ไหน แต่ถ้าเจ้าของข้อมูลหรือบัญชีหละหลวมในการเฝ้าระวังและเชื่อคนง่ายก็จะเป็นผู้เปิดกระเป๋ายื่นทรัพย์สินที่มีให้กับมิจฉาชีพเองกับมือ แต่การจะแก้ปัญหาบอกว่างั้นเลิกใช้เทคโนโลยีพวกนี้ทั้งหมดก็ดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะข้อดีของเทคโนโลยีก็ยังมีมาก อีกทั้งไม่ได้แก้ที่รากของปัญหา ซึ่งก็คือพฤติกรรมและความรู้ความเข้าใจในการใช้โลกออนไลน์อย่างปลอดภัยและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเศรษฐกิจแบบดิจิทัลนั่นเอง
ทรูมันนี่ห่วงใยในความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทุกท่าน กรณีพบพิรุธหรือความผิดปกติเกี่ยวกับบัญชีของคุณ สามารถติดต่อ TrueMoney Customer Care เบอร์ 1240 หรือ Call Center ธนาคารเจ้าของบัญชีท่านได้ตลอด 24 ชม. หรืออ่านเงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมที่ https://www.truemoney.com/terms-conditions/